บทความนี้เป็นบทความที่จะมาสอนการเชื่อมท่อ HDPE มาตรฐาน DVS2207และ การประปาส่วนภูมิภาค แบบ HDPE Butt Fusion โดยพนักงานของบริษัท ที่ได้รับการอบรมและสอบใบอนุญาตการเชื่อมท่อ HDPE จากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานมาแล้ว
เครื่องเชื่อมท่อ HDPE ในภาพเป็นเครื่องรุ่น BENJA 160A ที่จำหน่ายโดย วีบี เวลดิ้ง ไปอุดหนุนกันโลดดดด โดยในภาพจะประกอบไปด้วย (ตำแหน่งตามตัวเลขในภาพ)
1.ชุดไฮดรอลิกส์ ที่ประกอบไปด้วย
- ชุดมอเตอร์ปั๊ม
- เกจวัดแรงดัน
- ชุดควบคุมการเคลื่อนที่ของกระบอกไฮดรอลิกส์
- ชุดสายต่อเข้า-ออกกับชุดโครงเครื่องเชื่อม
2.เครื่องควบคุมการเชื่อมและบันทึกข้อมูล (Data Logger Unit : LDU)
- ชุดควบคุมการเชื่อมและบันทึกข้อมูล
- ชุดสายต่อเข้ากับชุดโครงเครื่องเชื่อม
- ชุดสายต่อต่อกับเข้ากับชุดไฮดรอลิกส์
- ชุดสายไฟต่อเข้าเครื่อง
- กระดาษพิมพ์ พร้อมหมึก
3.โครงเครื่องเชื่อมท่อ HDPE ทำหน้าที่จับยึดท่อ HDPE ทั้งสองท่อนที่จะทำการเชื่อมท่อ โดยจะมีชุดแกนเลื่อนที่ประกอบเข้ากับชุดไฮดรอลิกส์ ที่จะทำให้ท่อ HDPE ขยับท่อให้เชื่อมประสานกัน โดยปกติโคงเครื่องเชื่อม 1 เครื่องสามารถเชื่อมท่อได้ตามขนาดที่กำหนดไว้สูงสุด และมีชุดประกับที่สามารถประกอบกับโครงเครื่องเชื่อมท่อ ที่ทำให้สามารถเชื่อมท่อ ได้หลายขนาด
โดยประกอบไปด้วย :
- โครงเครื่องเชื่อมท่อ
- ชุดแกนเลื่อน
4.แผ่นความร้อน ทำหน้าที่ให้ความร้อนแก่ท่อ HDPE ต้องมีคุณสมบัติที่ให้ความร้อนหระจายได้ทั่วแผ่น และสามารตั้งอุณหภูมือยู่ในช่วง 200-220 องศาเซลเซียส และต้องมีขนาดใหญ๋กว่าเส้นผ่าศูนย์กลางท่อ HDPE ผิวหน้าควรเคลือบด้วยเทฟลอน ประกอบไปด้วย
- ชุดแผ่นความร้อนเคลือบด้วยเทฟลอน
- ชุดด้ามจับ
- ชุดวัดอุณหภูมิ
วัดอุณหภูมิแผ่นความร้อนโดยวัดเป็นกากบาท แล้วหารเฉลี่ย ต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐาน
5. ใบปาดหน้าท่อ โดยทำหน้าที่ปาดหน้าท่อ HDPE ได้พร้อมกันทั้งสองท่อ โดยต้องประกอบชุดใบปาดหน้าท่อเข้ากับโครงเครื่องเชื่อม และจะต้องประกอบให้สนิทให้ลงล็อค โดยจะมีจุดสัมกับแกนไฮดรอลิค
โดยประกอบไปด้วย
- ใบมีดปาดหน้า
- ชุดมอเตอร์ขับ
- สวิทซ์เปิด - ปิด
7.กล่องใส่เครื่องมือ เครื่องปริ้น ประกับ
8.แอลกอฮอสำหรับเช็ดท่อ และทำความสะอาดท่อ
คุณภาพของรอยเชื่อมท่อ HDPE ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของช่างเชื่อม ความเหมาะสมของอุปกรณ์และอุปกรณ์ที่ใช้แล้ว ตลอดจนการปฏิบัติตามมาตรฐานการเชื่อม สามารถทดสอบรอยเชื่อมด้วยวิธีที่ไม่ทำลายและ/หรือทำลาย งานเชื่อมต้องได้รับการตรวจสอบ ประเภทและขอบเขตการกำกับดูแลจะต้องตกลงกันระหว่างคู่สัญญา ขอแนะนำให้บันทึกข้อมูลการเชื่อมในโปรโตคอลการเชื่อม (LDU)
ตัวอย่างรอยเชื่อมท่อ hdpe ที่กำหนดความหนาของตะเข็บได้มาตรฐาน
อุณหภูมิที่ทำให้ท่อละลาย โดยจุดหลอมละลายของท่อ HDPE นั้นเริ่มต้นอยู่ที่ 135 องศาเซลเซียส โดยปกติการเชื่อมแล้ว ต้องใช้อุณหภูมิที่สูงกว่าจุดหลอมละลาย โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมนั้นอยู่ในช่วง 200-220 องศาเซลเซียส ซึ่งแปรผันโดยตรงกับความหนาของท่อ hdpe
อุณหภูมิช่วงที่เหมาะสมในการเชื่อมท่อ hdpe แปรผันโดยตรงกับความหนาของท่อ hdpe
แรงดันของท่อที่ใช้นั้นอยู่ที่ 0.15 N/mm2 ซึ่งขึ้นกับความหนาของท่อ ไม่รวมแรงลากท่อ โดยแรงดันจะแบ่งได้เป็น 4 รูปแบบ คือ
1.แรงดันลากท่อ (DF) คือแรงดันเริ่มต้นที่เราตั้งค่าเพื่อให้เครื่องสามารถลากท่อได้ลื่นไหลไม่หน่วงจนเกินไป
2.ความดันที่ใช้สร้างตะเข็บหน้าสัมผัสท่อ (P1, บาร์) จะใช้ค่ามาตรฐาน DVS 2207-1 กำหนดไว้คือ 0.15 + 0.01 M/mm2 คูณด้วยพื้นที่หน้าตัดของท่อ HDPE (A1) หารด้วยค่าพื้นที่หน้าตัดของกระบอกไฮดรอลิกส์ (A2)
3.ความดันแช่ (P2, บาร์) จะใช้ค่ามาตรฐาน DVS 2207-1 กำหนดไว้คือ 0.2 คูณด้วยพื้นที่หน้าตัดของท่อ HDPE (A1) หารด้วยค่าพื้นที่หน้าตัดของกระบอกไฮดรอลิกส์ (A2)
4.ความดันเชื่อมประสาน (P3, บาร์) จะเท่ากับ (P1, บาร์) จะใช้ค่ามาตรฐาน DVS 2207-1 กำหนดไว้คือ 0.15 + 0.01 M/mm2 คูณด้วยพื้นที่หน้าตัดของท่อ HDPE (A1) หารด้วยค่าพื้นที่หน้าตัดของกระบอกไฮดรอลิกส์ (A2)
ภาพแสดงการตัดท่อเพื่อดูรอยเชื่อมท่อ HDPE
1.ช่วงการสร้างตะเข็บของท่อโดยนับจนกว่าจะมีระยะตะเข็บของท่อ hdpe ได้ตามความสูงที่ออกแบบ
2.ช่วงลดแรงดัน เป็นช่วงที่ทำการแช่ท่อเพื่อให้ความร้อนกับท่อ hdpe โดยสามารถคำนวณได้จากสูตร ความหนาท่อ X 10 หน่วยวินาที ตัวอย่างเช่น ท่อ หนา 5.3 มม.ใช้เวลาแช่ท่อ 53 วินาที
3.ช่วงนำแผ่นความร้อนออกโดยจะออกแบบโดยสูตรต้องทำระยะเวลาไม่เกินที่กำหนด โดยใช้สูตร 3+(0.01xOD) วินาที
4.ช่วงเวลาการเพิ่มแรงดันเพื่อทำการเชื่อมท่อ hdpe หรือประสานท่อ hdpe ต้องใช้เวลาไม่เกินที่กำหนด โดยใช้สูตร 3+(0.03xOD)
5.ช่วงสุดท้ายคือช่วงการแช่ท่อหลังเชื่อมท่อ HDPE หรือเวลาหล่อเย็น ใช้สูตร (3+e)x60 วินาที
ภาพกองท่อที่รอเตรียมสำหรับฝึกเชื่อมท่อ HDPE เราซ้อมและฝึกอย่างจริงจัง
ดูรูปขยายใหญ่ คลิ๊กที่รูป
ลำดับที่ |
รายการ |
สูตรคำนวณ |
1 |
อุณหภูมิแผ่นความร้อน ( c ) |
205-220 c |
2 |
ความดันที่ใช้สร้างตะเข็บหน้าสัมผัสท่อ (P1, บาร์) |
1.5x(A1/A2) |
3 |
เวลาปรับศูนย์ (สร้างตะเข็บ) (T1, บาร์) |
จนกว่าจะได้ตะเข็บสูง K มม. |
4 |
ความสูงของตะเข็บ (K, มุม) |
0.5+(0.1xe) |
5 |
ความดันแช่ (P2, บาร์) |
0.2x(A1/A2) |
6 |
เวลาให้ความร้อนแช่ (T2 , วินาที) |
10xe |
7 |
เวลาปลดแผ่นความร้อน (T3 , วินาที) |
3+(0.01xOD) |
8 |
เวลาที่ใช้เพิ่มแรงดันเชื่อมประสาน (T4 , วินาที) |
3+(0.03xOD) |
9 |
ความดันเชื่อมประสาน (P3, บาร์) |
1.5x(A1/A2) |
10 |
เวลาหล่อเย็น (T5, วินาที) |
(3+e)x60 |
11 |
ความกว้างแนวเชื่อมต่ำสุด (มม.) |
3+(0.5xe) |
12 |
ความกว้างแนวเชื่อมสูงสุด (มม.) |
3+(0.75xe) |
มาตรฐานที่เกี่ยวข้องในการทดสอบ
DVS2203-1 ชนิดการทดสอบงานเชื่อมท่อ HDPE
DVS2203-2 Tensile Test ทดสอบแรงดึง
DVS2202-4 Long time tensile test
DVS2203-5 Bending Test
ภาพขณะเครื่องทำการกดรอยเชื่อมท่อ HDPE ที่ถูกตัดตัวอย่างมา แบบ DVS2203-5 Bending Test
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก กรมพัตนาฝีมือแรงงานและอาจารย์สุทิน วิทยเบญจางค์
1 อุปกรณ์สำหรับเชื่อมท่อ HDPE
1.ชุดไฮดรอลิคส์
2.เครื่องควบคุมการเชื่อมและบันทึกข้อมูล
3.โครงเครื่องเชื่อมท่อ
4.แผ่นความร้อน
5. ใบปาดหน้าท่อ
6.กล่องใส่เครื่องมือ เครื่องปริ้น ประกับ
7.แอลกอฮอล์สำหรับเช็ดท่อ
ขั้นตอน1
1.1) ทำการตรวจสอบอุปกรณ์และความพร้อมของอุปกรณ์ทดสอบค่าแรงดันของเครื่องดูการรั่วซึมชุดไฮดรอลิกส์
1.2) ทำการวัดค่าอุณหภูมิแผ่นความร้อนโดยเทอโมมิเตอร์ หาค่าเฉลี่ย อุณหภูมิต้องอยู่ที่ค่า 200-220 องศา
ขั้นตอน 2
2.1) ทำการติดตั้งท่อบนโครงเครื่องเชื่อมท่อทั้งสองฝั่งโดยเลือกใช้ประกับที่ขนาดพอดีกับท่อ ทำการล็อคท่อและปรับหน้าท่อให้ใกล้เคียงกัน
ขั้นตอน 3
3.1) ทำการเลื่อนชุดโครงเชื่อมท่อออก จากนั้นทำการใส่เครื่องปาดหน้าท่อ
3.2) ทำการปรับแรงดันให้เหลือแค่แรงลากท่อ จากนั้นทำการเลื่อนท่อเข้าหาเครื่องปาดหน้าท่อ โดยทำการปาดหน้าท่อจนกว่าหน้าสัมผัสจะสม่ำเสมอกัน
ขั้นตอน 4
4.1) ตรวจสอบความเหลื่อมของท่อโดยการเลื่อนปลายท่อเข้าชนกัน และตรวจสอบความเหลื่อมของท่อ (ค่าความเหลี่ยมที่ภายนอกได้สูงสุด = 0.1 x ความหนาของผนังท่อ)
ขั้นตอนที่ 5
5.1) ทำความสะอาดท่อและแผ่นความร้อน โดยใช้ทิชชู่ชุบแอลกอฮอล์เช็ดบริเวณปลายท่อที่จะทำการเชื่อม
ขั้นตอน 6
6.1) ทำการหาแรงลากท่อ (Drag Pressure) และปรับเพิ่มแรงดันของความดันที่ใช้สร้างตะเข็บหน้าสัมผัสท่อ ด้วยสูตร Drag Pressure + 1.5x(A1/A2)
ขั้นตอน 7
7.1) ใส่แผ่นความร้อนตรงกลางระหว่างท่อทั้งทั้งสองด้าน แล้วเลื่อนท่อทั้งสองด้านให้ชนกับแผ่นความร้อน (อุณหภูมิของแผ่นความร้อน 200-220 องศาเซลเซียส) ด้วยแรงดันจากสูตร Drag Pressure + 1.5x(A1/A2) จนกว่าจะได้ความสูงตะเข็บ (K, มุม) 0.5+(0.1x ความหนาของท่อ)
7.2) หลังจากได้ตะเข็บตามกำหนดให้ทำการปรับความแช่แผ่นความร้อนด้วยสูตร ความดันแช่ (P2, บาร์) 0.2 x (A1/A2) โดยใช้ระยะเวลา เวลาให้ความร้อนแช่ (T2 , วินาที) 10 x ความหนาท่อ
ขั้นตอน 8
8.1) เมื่อครบเวลาให้ความร้อนแช่ ให้ทำการเลื่อนท่อออกจากนั้นทำการเอาแผ่นความร้อนออก และนำท่อเลื่อนเข้าหากันทันที โดยต้องใช้เวลาปลดแผ่นความร้อน (T3 , วินาที) ด้วยสูตร 3+(0.01xเส้นรอบวงภายนอกของท่อ)
8.2) ทำการเพิ่มแรงดัน ความดันเชื่อมประสาน (P3, บาร์) ด้วยสูตร 1.5 x (A1/A2) โดยใช้เวลาไม่มากกว่าเวลาที่ใช้เพิ่มแรงดันเชื่อมประสาน (T4 , วินาที) 3+(0.03xเส้นรอบวงภายนอกของท่อ)
ขั้นตอน 9
9.1) ทำแช่ท่อเพื่อหล่อเย็นโดยใช้ เวลาหล่อเย็น (T5, วินาที)จากสูตร (3+ความหนาท่อ)x60
9.2) เมื่อครบกำหนดหล่อเย็นจึงทำการถอดท่ออกจากชุดโครงเชื่อมท่อ HDPE
9.3) ตรวจสอบความกว้างแนวเชื่อมต่ำสุด (มม.)ด้วยสูตร 3+(0.5xความหนาท่อ) และความกว้างแนวเชื่อมสูงสุด (มม.)ด้วยสูตร 3+(0.75xความหนาท่อ)
ขั้นตอน 10
10.1) ทำการปริ้นรายงานผลการเชื่อมท่อ HDPE ผ่านเครื่องปริ้นของ LDU