SUN-MON, 9:45AM

พาชมขั้นตอนการติดตั้งท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็ก ให้ปั้มน้ำมัน ปตท.

14

Apr

พาชมขั้นตอนการติดตั้งท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็ก ให้ปั้มน้ำมัน ปตท.

พาชมขั้นตอนการติดตั้งท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็ก ให้ปั้มน้ำมัน ปตท.บนพื้นที่ที่มีการจราจรหนาแน่นตลอดเวลา ไม่สามารถปิดถนนได้นาน เนื่องจากจะสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนผู้สัญจร เนื่องเส้นทางเป็นทางขึ้นสู่ทางด่วน ทำให้บริษัทมีเวลาการทำงานที่สั้นมากๆ ใช้เวลาเพียง 3 วันในการทำงานเท่านั้น และใช้เวลาเก็บความสวยงามอีก 2 วัน (ปิดการจราจรบางช่วง) โดยเราเลือกใช้ท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็ก Class C SN6 ขนาด 600 มิลลิเมตรที่สามารถรับน้ำหนักการกดทับได้ 40 ตัน มาใช้ในการวางครั้งนี้ จำนวน 2 จุด ความยาวรวม 12 เมตร ความลึกประมาณ 1.5 เมตรที่ระดับพื้นผิว ใช้เครื่องจักรประกอบด้วย รถขุดเล็ก 3 ตัน จำนวน 2 คัน รถหกล้อเล็ก 1 คัน รถติดเครนจำนวน 1 คัน โดยทำการติดตั้งไฟจราจรและสปอร์ตไลท์ โดยรอบพื้นที่เพื่อให้สามารถทำงานกลางคืนได้

ทำไมต้องใช้ท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็กขนาด 600 มม.?

เนื่องด้วยกฏกระทรวงฉบับที่ ๔๔ (พ.ศ.๒๕๓๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 51 (พ.ศ. 2541) ฯ) ทางระบายนํ้าแบบท่อปิดต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางภายในไม่น้อยกว่า ๑๐ เซนติเมตร โดยต้องมีบ่อพักสำหรับตรวจการระบายนํ้าทุกมุมเลี้ยวและทุกระยะไม่เกิน ๑๒ เมตร หรือทุกระยะไม่เกิน ๒๔ เมตร ถ้าทางระบายนํ้าแบบท่อปิดนั้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายในตั้งแต่ ๖๐ เซนติเมตรขึ้นไป โดยการป้องกันน้ำเสียและน้ำท่วมให้เพิ่มขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อระบายน้ำจากเดิมไม่น้อยกว่า 40 ซม. เป็นไม่น้อยกว่า 60 ซม. เพื่อให้มีการระบายน้ำและหน่วงน้ำป้องกันน้ำท่วมในชุมชนหมู่บ้าน หลายจังหวัดจึงขยายขนาดท่อเชื่อมสาธารณะเป็นขั้นต่ำที่ 60 ซม.

ขั้นตอนการก่อสร้างท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็ก

1.การปิดการจราจรและป้ายประกาศเพื่อแจ้งให้ใช้สัญจรบนถนน

ภาพการปิดการจราจรก่อสร้าง

2.กำหนดแนวทางวางท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็ก

การกำหนดจุดก่อสร้างและแนววางท่อ

3.ขุดเปิดร่องแนวเพื่อวางท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็ก และทำการเจาะบ่อพักน้ำสาธารณะ

ขุดหลุมเพื่อวางท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็ก

4.รองพื้นด้วยทรายบดอัดจากนั้นวางท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็ก และทำการเกร้าท์ปูนปากท่อ

ขั้นตอนการวางท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็กพร้อมยาแนว

5.กลบร่องท่อด้วยทรายบดอัดพร้อมรดดน้ำให้แน่น จากนั้นวางเหล็ก

นำทรายใส่ในร่องวางท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็ก

6.ทำการเกร้าท์ปูนปากท่อบนบ่อพักทั้งสองฝั่ง

เกร้าปากท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็ก

7.ทำการเกร้าท์ปูนปากท่อภายในบ่อพักสาธารณะ เพื่อไม่ให้เกิดการรั่วซึมของน้ำ จนทำลายชั้นผิวทาง

เกร้าปากท่อภายในบ่อพักน้ำสาธารณะ

8.เทปูนด้วยสูตรแข็งตัวเร็ว 450 ksc และจี้คอนกรีตให้แน่น

ขั้นตอนการคืนสภาพผิวจราจร

9.ทำการขัดผิวปูนและกรีดร่องคอนกรีต

ขัดผิวคอนกรีตเพื่อไม่ให้เกิดการแตกร้าว

10.ทำการบ่มคอนกรีตด้วยน้ำ

บ่มน้ำผิวคอนกรีต

11.ทำการหยอดยางมะตอยที่ร่องคอนกรีต

ยาแนวร่องคอนกรีตด้วยยางมะตอย

12.ทำการทำความสะอาดภภายในบ่อพัก

ทำความสะอาดบ่อระบายน้ำ

13.ทำการทดสอบการไหลของน้ำและส่งงาน

การทดสอบน้ำไหลท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็ก

จะสังเกตว่าการไหลของน้ำสามารถไหลได้รวดเร็วท่อไร้รอยต่อ ทำให้สะบายใจว่าจะไม่เกิดการรั่วซึมจนไปทำลายชั้นผิวทางแน่นอน